วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

วังนาคินทร์คำชะโนด



วังนาคินทร์คำชะโนด

วังนาคินทร์คำชะโนด หรือ เมืองชะโนด หรือที่นิยมเรียกกันว่า ป่าคำชะโนด ตั้งอยู่อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี เป็นเมืองที่ปรากฏในตำนานพื้นบ้านหลายหลายๆตำนาน ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีอยู่จริงหรือไม่

ลักษณะทางภูมิประเทศ

พื้นที่โดยรอบของวังนาคินทร์คำชะโนด ลักษณะเป็นเกาะ มีต้นชะโนด เกิดขึ้นรวมกันอยู่เป็นกลุ่มประมาณ 20 ไร่ เป็นต้นไม้ชนิดที่หายากมากลักษณะของต้นชะโนดจะเป็นต้นไม่ที่ดูคล้ายกับต้นมะพร้าว ต้นหมาก และต้นตาล รวมกันเป็นต้นเดียวกัน

ตรงกลางเกาะ ก็ยังมีมีบ่อน้ำศักดิ์สิทธ์อยู่เรียก ว่า บ่อคำชะโนด เป็นน้ำใต้ดินที่พุ่งไหลซึมตลอดเวลา ทางจังหวัดได้เลือกน้ำ จากบ่อนี้ไปร่วมในพิธีสำคัญเสมอ

ตำนานและความเชื่อ

เกาะลอยน้ำ

ความพิเศษของวังนาคินทร์แห่งนี้อีกประการหนึ่งก็คือ มีลักษณะเป็นเกาะที่ลอยน้ำ แม้รอบๆเกาะรวมถึงทางเดินพญานาคจะถูกน้ำท่วม แต่เมืองคำชะโนดแห่งนี้ไม่เคยถูกน้ำท่วมเลยแม้แต่ครั้งเดียว เพราะเมื่อน้ำขึ้นเกาะคำชะโนดแห่งนี้ก็จะลอยตามน้ำไปด้วย

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

สำหรับเหตุที่เชื่อว่าบ่อน้ำแห่งนี้เป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากน้ำในบ่อน้ำแห่งนี้ก็ไม่เคยลดแห้งลง จะรักษาระดับอยู่เท่าเดิมตลอดทั้งปี และเคยมีคนเอาไม้ไผ่ 2 ลำมาต่อกันแล้วหยั่งลงไปดูความลึกของน้ำแต่หยั่งไม่ถึง เชื่อกันว่าน้ำในบ่อนี้จะไปทะลุที่สะดือแม่น้ำโขงหรือบริเวณวัดอาฮงศิลาวาส จ.หนองคายในปัจจุบัน

รอยพญานาค

นอกจากนี้บริเวณวัดสิริสุทโธ ยังเคยมีรอยพญานาคปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งด้วย โดยเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.2527 มีรอยพญานาคขนาดกว้างประมาณ 60-70 ซ.ม. ความยาวไปเรื่อยๆคล้ายลักษณะงูเลื้อย เกิดขึ้นทั่วบริเวณวัด ครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2537 และครั้งล่าสุดเกิดรอยพญานาคขึ้นในวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 11 ปี พ.ศ.2549 รอบศาลาวัด ซึ่งนี่ก็เป็นเรื่องน่าแปลกอีกเรื่องหนึ่ง

ผีจ้างหนัง

เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวกับคณะฉายหนังเร่ หรือหนังกลางแปลง ที่ได้รับการว่าจ้าง ไปฉายที่บ้านวังทอง อำเภอบ้านดุง มีการตกลงราคาเรียบร้อยตามปกติ แต่ที่แปลกคือมีข้อตกลงกันว่า ให้ฉาย 3 ทุ่มถึงแค่ตี 4 เท่านั้น ห้ามฉายถึงสว่าง พอตี 4 ก็ให้รีบเก็บข้าวของออกจากสถานที่ฉาย แล้วห้ามหันหลังกลับไปมองเด็ดขาด แต่ว่ามีทีมงานคนหนึ่งได้หันหลังกลับไปมอง ก็พบว่า บริเวณที่ฉายหนังเมื่อคืน มีแต่ต้นไม้สูงใหญ่เต็มไปหมด ไม่มีวี่แววของหมู่บ้านอยู่เลย

ความเชื่อเรื่องการประกวดชายงามในเมืองบาดาล

ตามความเชื่อมีอยู่ว่า หลวงปู่คำตา ศิริสุทโธ ชื่อเดิม นายคำตา ทองสีเหลือง ชาวบ้านเชื่อว่าท่านเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้าปู่ศรีสุทโธหรือพญาศรีสุทโธนาค พญานาคผู้ครองเมืองคำชะโนด ก่อนที่ท่านจะบวชเป็นพระ ท่านได้ถูกเชิญไปยังเมืองบาดาล เพื่อไปประกวดชายงาม ซึ่งในบรรยากาศการประกวดนั้นก็เหมือนกับการประกวดทั่วไปบนโลกมนุษย์ มีเวทีสวยงามขนาดกว้างใหญ่มากและมีคนเฝ้าชมงานประกวดมากมาย การประกวดปรากฏว่าอาจารย์คำตาได้ตำแหน่งชนะเลิศ และหลังจากนั้นบางตำนานก็เล่าว่า ท่านนำทรัพย์สินที่ได้มาสร้างวัด แต่บางตำนานก็เล่าว่า ท่านได้ใช้ชีวิตที่เหลือในบั้นปลายตามหนทางสายธรรมะและหลวงปู่คำตาได้อาพาธและได้มรณภาพ วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2533

ข้อปฏิบัติในการเข้าไปสักการบูชาเกาะคำชะโนด

1.ห้ามใส่รองเท้า สวมหมวกเข้าไปในเมืองคำชะโนด

2.ห้ามนำสุรา พร้อมสิ่งของเสพติดใดๆเข้าไปในเมืองคำชะโนด

3.ห้ามขูดขีดต้นไม้บริเวณในวัดและในเมืองคำชะโนด

4.ห้ามนั่งบนขอบบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์และห้ามนั่งบนราวสะพาน

5.ห้ามส่งเสียงดัง ควรพูดคุยกันเบา ๆ แสดงกิริยาสุภาพ

6.ห้ามพูดจาหยาบคายดุด่าสาปแช่งหรือพูดหมิ่นประมาท

7.ห้ามทิ้งสิ่งของใดๆลงในบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ จงช่วยกันรักษาความสะอาด

8.ห้ามทิ้งขยะ เศษอาหาร หรือสิ่งของใด ๆ ลงในเมืองคำชะโนด

9.ห้ามใช้ขันหรือถ้วยแก้วตักน้ำในบ่อศักดิ์สิทธิ์

การเดินทาง

มี 2 เส้นทางคือเส้นทางสายอุดร-หนองคาย เลี้ยวขวาตรง ทางแยกบ้านนาข่า ตามทางหลวงหมายเลข 2255 ถึงสามแยกบ้านสุมเส้าแล้ว เลี้ยวขวา ไป อ.บ้านดุง ต่อไปหมู่บ้านสันติสุข ถึงวัดศิริสุทโธ อีกประมาณ 12 กม.

หรือใช้เส้นทางอุดร-สกลนคร ประมาน 45กม. แล้วเลี้ยวซ้ายแยกบ้านหนองเม็ก ไป อ.บ้านดุง อีกประมาณ 40กม. แล้วไปหมู่บ้านสันติสุขถึงวัดศิริสุทโธ อีกประมาณ12 กม.

วันเสาร์ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2553

บทที่ 2 ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้นถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

บทที่ 2 ประวัติศาสตร์การท่องเที่ยวจากยุคเริ่มต้นถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

การท่องเที่ยวในยุคกลาง

ยุคกลางคือช่วงที่อยู่ระหว่าง คศ.500-1500 หรือเป็นช่วงทมี่ต่อจากการล่มสลายของอาณาจักรโรมัน ยุคกลางเรียกกันอีกอย่างหนึ่งว่ายุคมืด ช่วงเวงลาดังกล่าวถนนหนทางถูกปล่อยให้ทรุดโทรมเศรษฐกิจตกต่ำแต่ศาสนจักรโรมันคาทอลิค ยังคงเป็นศูนย์รวมสังคมและอำนาจการเดินทางมีความลำบากมากขึ้นและอันตรายมากขึ้นคนชั้นสูงและคนชั้นกลางนิยมเดินทางเพื่อแสวงหาบุญเป็นการเดินทางไกลขึ้นสำหรับผู้เครื่องศาสนาสถานที่ที่ผู้สื่อมใสนิยมเดินทางไป ปัญหาที่นักเดินทางในยุคกลางเผชิญคือ โจรผู้ร้ายที่คอยดักปล้นนักเดินทาง มัคคุเทศน์ในสมัยนั้นจึงต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำ และเป็นทั้งผู้ปกป้องการเดินทางด้วยมัคคุเทศก์ในสมัยนั้นจึงได้รับค่าจ้างสูง ค่าจ้างมัคคุเทศก์ในสมัยนั้น เท่ากับครึ่งหนึ่งของราคาอูฐหนึ่งตัวการที่เดินทางเพื่อแสวงบุญมีการความบันเทิงและฉลองควบคู่กันไประหว่างการเดินทาง ผลของการเดินทางเพื่อจารึกแสวงบุญมีประเด็นที่สำคัญ 3 ประเด็น คือ

1.เป้าหมายของการเดินทารงที่เด่นชัดได้แก่การแสวงบุญ

2.ผลการเดินทางมีความสำคัญและความหมายทางด้านจิตใจเพราะเป็นเหตุการณ์สำคัญแห่งชีวิต

3.ผู้แสวงบุญต้องการให้คนอื่นเห็นถึงความสำเร็จแห่งการเดินทรางในรูปของที่ระลึก

การพัฒนาการคมนาคมทางถนนในคริสตวรรษที่ 17 ถึงต้น ศตวรรษที่ 19

ในช่วงก่อนที่จะถึงศตวรรษที่ 16 คนที่ต้องการเดินทางมีวิธีที่จะทำได้ 3 วิธี คือด้วยการเดินเท้าซึ่งเป็นวิธีเดินทางของคนจน วิธีที่สองคือการขี่ม้า และวิธ๊สุดท้ายคือ ใช้เสลี่ยงโดยมีคนรับใช้เป็นผู้แบกซึ่งวิธีนี้เป็นวิธีเดินทางของชนชั้นสูงเท่านั้นการพัฒนารถม้า 4 ล้อที่มีระบบกันสะเทือนด้วยสปริงนับเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่สำหรับ คนที่จะเป็นต้องเดินทาง การประดิษฐ์รถที่มีระบบกันสะเทือนอย่างงง่ายที่สุดสามารถสืบย้อนไปได้ที่เมือง Kocs ในประเทศฮังการีในศตวรรษที่ 15 และในต้นศตวรรษที่ 17 รถม้า ตู้ทึบชนิด 4 ล้อ ก็มีการวิ่งบริการในประเทศอังกฤษที่มีวิ่งประจำทุกวันในเส้นทางระหว่างกรุงลอนดอนถึงอ๊อกฟอร์ด ในศตวรรษที่ 18 มีระบบทางด่วนที่ผู้โดยสารต้องจ่ายค่าผ่านทางเกิดขึ้น โดยมีการปรับปรุงผิวการจราจรทำให้รถตู้ 4 ล้อ ลากด้วยมาซึ่งบรรทุกคนได้ระหว่าง 8-14 คนวิ่งได้ถึง 40ไมล์ ต่อวันในช่วงฤดูร้อน ประมาณ คศ.1815 ถนนในหนทางทวีปยุโรปมีการพัฒนาที่ดีขึ้น หลุมบ่อลดน้อยลงทั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการค้นพบประโยชน์ของยางมะตอย ทำให้การเดินทางเร็วขึ้นในตอนต้นศตวรรษที่ 20 รถโดยสารที่ใช้ม้าลากสามารถพบเห็นได้ โดยทั่วไปในกรุงลอนดอนและปารีสทำให้การเดินทางในเมืองสะดวกมากขึ้น

แกรนด์ทัวร์

ตั้งแต่ตอนต้นศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมาได้เกิดการท่องเที่ยวในรูปแบบใหม่ขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากเสรีภาพและความต้องการที่จะเรียนรู้ในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ยุคที่มีระยะเวลาประมาณ 300 ปี เริ่มต้นในราวคริสต์วรรษที่15 และสิ้นสุดลงในราวศตวรรษที่17 ในศตวรรษที่18 ผู้คนที่รำรวยมีจำนวนมากขึ้นทั่วประเทศอังกฤษ การค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น นักการทูตมากขึ้นมีนักคิดที่ใฝ่รู้เกี่ยวกับเรื่องราวของยุโรปเกิดขึ้นในสมัยพระราชินีเอลิซาเบธที่ 1 ระหว่าง ค.ศ.1701 ถึง 1789 คนชั้นสูงชาวอังกฤษนิยมที่จะส่งบุตรชายออกเดินทางไปต่างประเทศพร้อมกับอาจารย์ผู้สอนประจำตัวการเดินทางแบบนี้เรียกว่า Grand Tour ในปี ค.ศ.1749 Dr.Tnomas Nugent ได้ตีพิมพ์หนังสือคู่มือการท่องเที่ยวออกมาเล่นหนึ่งให้ชื่อว่า The Grand Tour หนังสือเล่มนี้ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยวเพื่อการศึกษามากขึ้นถึงแม้ว่าจุดประสงค์ของการเดินทางแบบ Grand Tour โดยเนื้อแม้แล้วเปป็นการท่องเที่ยวเพื่อการแสวงหาความรู้แต่ไม่ช้าไม่นานการท่องเที่ยวแบบนี้ก็กลายเป็นความนิยมทางสังคม

การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวประเภทอาบน้ำแร่

การอาบน้ำแร่หรือ Spa เป็นที่รู้จักกันดีอยู่แล้วตั้งแต่ยุคโรมันโดยเฃื่อกันว่าน้ำแร่มีคุณสมบัติทางยา แต่ความนิยมการไปอาบน้ำแร่ได้ลดลงในยุคหลังๆ แต่ไม่ได้หมายความว่าความนิยมจะลดลงโดยสิ้นเชิง ใน ค.ศ. 1562 Dr.William Turner ได้ตีพิมพ์หนังสือเกี่ยวกับสรรพคุณของน้ำแร่ที่เมือง Bathและที่อื่นๆ ในยุโรปว่ามีสรรพคุณรักษาโรคได้ ทำให้เมือง Bath และแหล่งน้ำแร่แห่งหนึ่งที่เมือง Buxton ได้กลับกลายมาเป็นที่นิยม การเดินทางไปรับการบำบัดด้วยน้ำแร่ได้กลายมาเป็นสถานภาพทางสังคมอย่างรวดเร็วทำให้บรรดาสถานบำบัดทั้งหลายเปลี่ยนโฉมหน้าจากสถานรักษาสุขภาพไปเป็นสถานที่เพื่อความเพลิดเพลิน Bath ได้กลายมาเป็นเมืองของคนชั้นสูง ในช่วงศตวรรษที่ 18 และต้นศตวรรษที่ 19 เป็นที่นิยมตั้งแต่ชนชั้นกษัตริย์ลงมาที่ชนชั้นสูง ในที่สุดตอนต้นศตวรรษที่ 19 บรรดารีสอร์ทก็เปลี่ยนโฉมไปสู่ตลาดล่างตามวงจรชีวิตของตลาด และเมือถึงปลายศตวรรษที่ 18 ยุคเฟื่องฟูของบ่อน้ำแร่ในอังกฤษก็ถึงกาลอวสานต์

กำเนิดยุคสถานที่ตากอากาศชายทะเล

การอาบน้ำทะเลเป็นที่นิยมในอังกฤษตั้งแต่สมัยฟื้นฟูศิลปวะวิทยาการ การอาบน้ำทะเลในสมัยนั้น ผู้อาบอาบทั้งเสื้อผ้า เพราะการถอดเสื้อผ้าว่ายน้ำเป็นการขัดจารีตประเพณีในสมัยนั้น การอาบน้ำทะเลเริ่มต้นขึ้นจากเหตุผลทางด้านสุขภาพ ความคิดที่ว่าการอ่บน้ำทะเลจะทำให้สุขภาพดีและเป็นที่ยอมรับในศตวรรศที่ 18 ความนิยมบำบัดโรคด้วยน้ำทะเล เริ่มต้นขึ้นในราวทศวรรษที่ 1730 Dr. Richard Russet ได้ตีพิมพ์หนังสือพิมเกี่ยวกับการรักษาโรคด้วยน้ำทะเลขึ้น ในราว ค.ศ. 1752 เป็นการกระตุ้นให้คนอาบน้ำทะเล

ปัจจัยที่ส่งเสริมการท่องที่ยวในศตวรรษที่ 19

เราอาจแบ่งปัจจัยนี้ออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดการเดินทาง และปัจจัยดึงดูดให้คนเดินทาง คนเราจะเดินทางได้นั้นจำเป็นต้องมีเวลามากพอและมีเงินที่จะใช้เพื่อการเดินทางและตลอดทุกยุคทุกสมัยปัจจัยทั้งสองนี้เอื้อเพียงคนในสังคมบางกลุ่มเท่านั้นที่จะเดินทางได้ คนส่วนฝหญ่จะมีเวลาจำกัด การขนส่งที่ดีจะต้องได้รับการสนับสนุนด้วยการมีที่พักเพียงพอ ข้อจำกัดอีกอย่างงสำหรับนักเดินทางได้แก่ความเสี่ยงเกี่ยวกับโรคภัยไข้เจ็บ เพราะระบบสาธารณสุขใหญ่ๆ ในอดีตยังไม่เป็นมาตรฐานเช่นในปัจจุบัน อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องอัตตราการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่ไม่เป็นระบบ นักเดินทางต้องเสี่ยงกับการถูกโกง ทำให้ต้องถือเงินเป็นจำนานมากทำให้ต้องเสี่ยงจากการถูกปล้นจากโจรผู้ร้าย

ยุคของเครื่องจักรไอน้ำ : กำเนิดการเดินทางรถไฟ

การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสองประการในตอนต้นศตวรรษที่ 19 ได้มีผลอย่างสำคัญต่อการขนส่งและการเดินทางโดยทั่วไป การพัฒนาทางเทคโนโลยีประการแรกคือ การสร้างพหนะประเภทรถไฟ ทางรถไฟสายแรกสร้างขึ้นในประเทศอังกฤษในปี ค.ศ. 1825 ส่วนการเดินทางทางลำคลองก็มีมากขึ้นในปี ค.ศ.1760 แต่ก็เสียเวลานานไม่ค่อยดึงดูดให้คนใช้การเดินทางรูปแบบนี้จึงใช้เพื่อการขนส่งสินค้ามากกว่า และความนิยมที่จะเดินทางเรือ

เรือกลไฟ

รถไฟทำให้เกิดการเดินทางทางภาคพื้นดิน เทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้เกิดการพัฒนาเรือกลไฟเพื่อการเดินทางทางน้ำ การพัฒนาทางด้านการค้ากับทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งกับทวีปอเมริกาเหนือทำให้ประเทศอังกฤษต้องพัฒนาการสื่อสารรูปแบบต่างๆ ประเทศอังกฤศเป็นประเทศแรกที่เปิดบริการด้วยเรือน้ำลึก ดังนั้นจึงจัดว่าเป็นมหาอำนาจทางการขนส่งทางทะเลหลังศตวรรษที่ 19 แต่ภายหลังก็มีคู่แข่งเกิดขึ้นในทวีปอเมริกาเหนืออีกหลายบริษัท การบริการทางเรือเป็นกิจการที่นำความมั่งคั่งมาสู่ผู้ประกอบการไม่เพียงจากการรับส่งไปรษณีย์เท่านั้น ความรุ่งเรืองของการเดินทางเรือลดลงเมื่อมีการเปิดบริการทางด้านดารบินในตอนกลางศตวรรษที่ 20

การท่องเที่ยวในศตวรรษที่ 20 (1901-200)

ช่วง 50 ปีแรก (1901-1950)

ก่อนการสงครามโลกครั้งที่ 1 นักท่องเที่ยวจากอังกฤษไปตากอากาศที่ริเวียร่าในช่วงฤดูหนาว การเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 (1914-1918) ทำให้การท่องเที่ยวหยุดชะงักไปชั่วคราวและเป็นที่มาของการใช้หนังสือเดินทางในหลายประเทศภายหลังจากสงคราม ความรำรวยที่กลับคืนสู่ยุโรป ทศวรรศที่ 1920ประกอบกับการอพยพครั้งใหญ่ ทำให้เกิดการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก และการเดินทางในภูมิภาคยุโรป รูปแบบการเดินทางเปลี่ยนไป ความนิยมในการดินทางด้วยรถไฟลดลงเพราะคนนนิยมเดินทางด้วยรถส่วนตัวมากขึ้น มีการพัฒนาถนน รถบรรทุกที่ขนสัมภาระในช่วงสงครามให้เห็นเป็นรถ Coach พาหนะแบบนี้ได้รับความนิยมมากในช่วงทศวรรษที่ 1920 การใช้รถยนต์ส่วนตัว เริ่มต้นขึ้นครั้งแรกในสหรัฐอแมริกาและการเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวก็เป็นการเดินทางท่องเที่ยวที่นิยมในหมู่คนชั้นกลางในประเทศอังกฤษ

การท่องเที่ยวหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ความสนใจของผู้คนที่จะเดินทางไปต่างประเทศเพิ่มขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การยุติสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ. 1945 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องรูปแบบของการเดินทางครั้งสำคัญนั้นคือ การเดินทางระยะไกล เดินทางโดยเครื่องบินซึ่งเป็นผลมาจากความก้านหน้าทางด้านเทคโนโลยี การบิน เที่ยวบินแรกคือการบินข้ามมหาสมุทรแอตแลนติระหว่างนิวยอค์ในประเทศสหรัฐ กับเมืองปอร์ธสมัธประเทศอังกฤษ จำนวนของผู้โดยสารที่เดินทางอากาศเพิ่มมากกว่าผู้โดยสารที่เดินทางทารงเรือเป็นครั้งแรก ค.ศ. 1957 ในต้น?ศวรรษ 1970 มีการนำเอาเครื่องบินโดยสารเร็วกว่าเสียงคือ เครื่องบินคองคอร์ด เข้ามาใช้.งเป็นการร่วมลงทุนระหว่างประเทศอังกฤษกับฝรั่งเศษ โดยบินระหว่างลอนดอน ปารีส และนิวยอร์ค โดยใช้เวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง แต่เป็นที่นิยมในกลุ่มนักธุรกิจเท่านั้น แต่เนื่องเป็นเครื่องบินที่ใช้ต้นทุนสูง เสียงดีงและจุกผู้โดยสารได้เพียง 100 คนทำให้ต้องหยุดการดำเนินการไปในปี 2003

บทที่ 7 ตัวแทนการจำหน่ายการท่องเที่ยว

บทที่ 7 ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว

อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในศตวรรษที่ผ่านมาคือ ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว ตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยวที่สำคัญ 4 ประเภทคือ แทรเวล เอเจนซี่ บริษัททัวร์ บริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยว และบริษัทรับจัดการประชุม

แทรเวล เอเจนซี่ หมายถึง ธุรกิจขายปลีกที่ได้รับอนุญาตให้ขายผลิตภัณฑ์ ทางการท่องเที่ยวแทนผู้ประกอบธุรกิจ

แทรเวล เอเจนซี่ หมายถึง ธุรกิจที่ช่วยสาธารณชนในการวางแผนการท่องเที่ยว และความต้องการทางการท่องเที่ยว

อาจสรุปได้ว่า แทรเวลเอเจนซี่ หมายถึง ธุรกิจขายปลีกที่ได้รับอนุมัติเป็นตัวแทนขายสินค้าทางการท่องเที่ยงเที่ยวและช่วยเหลือในการวางแผนการท่องเที่ยวให้ลูกค้าด้วย

ความเป็นมาด้วย ผู้ที่จะต้องเดินทางท่องเที่ยวจะต้องติดต่อซื้อสินค้าทางการท่องเที่ยวโดยตรงต่อมาจึงเกิดธุรกิจค้าปลีกที่อำนวยความสะดวกในการซื้อขึ้น โดยโทมัส คุก ได้เปิดแทรเวล เอเจนซี่ขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2388(คศ.1845) แทรเวล เอเจนซี่ จึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางและท่องเที่ยวต้องแต่นั้นมา

บทบาทหน้าที่ของแทรเวล เอเจนซี่ว่ามีบทบาทหน้าที่ ต่อไปนี้

1.จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว

2.ทำการจอง

3.รับชำระเงิน

4.ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง

5.ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ

6.ช่วยดำเนินการในการซื้อบัตรโดยสาร

7.ออกบัตรโดยสารเครื่องบินและเอกสารอื่นๆ

1. จัดหาราคาหรืออัตราสินค้าทางการท่องเที่ยว แทรเวล เอเจนซี่ มีหน้าที่จัดหาราคาต่างๆ เช่น ค่าบัตรโดยสารเครื่องบิน ราคาห้องพักของโรงแรม ราคาค่าเช่ารถ ราคาทัวร์แบบเหมาจ่าย ราคาค่ารถไฟหรือรถประจำทาง เป็นต้น

2. ทำการจอง โดยทั่วไปการจองบัตรโดยสารเคร่องบินจะเกี่ยวข้องกับการวางแผนเส้นทางการบินและการต่อเครื่องบินจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง

3. รับชำระเงิน แทรเวล เอเจนซี่ ที่ได้รับการรับรองจาก ARC จะได้รับอนุญาตให้รับชำระเงินค่าบัตรโดยสารได้ทุกสัปดาห์ บัตรโดยสารที่ได้จากการขายและจำนวนเงินที่ได้รับจากการขายบัตรโดยสารจะต้องนำเข้าบัญชีพิเศษเรียกว่า settlement account ซึ่ง ARC สามารถถอนเงินเพื่อนำไปชำระบัตรค่าโดยสารให้กับสายการบินต่างๆโดยจะหักกับค่านายหน้า 10% ให้กับแทรเวล เอเจนซี่

1.ทำการส่งบัตรโดยสารหรือเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเดินทาง

2.ช่วยเหลือลูกค้าในการซื้อสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวอื่นๆ

แทรเวล เอเจนซี่ ส่วนใหญ่มีรายได้จากการขายสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว สินค้าและบริการเหล่านั้นได้แก่

1.ทัวร์เหมาแบบจ่าย

2.เรือสำราญ

3.โรงแรม

4.ค่าเช่ารถ

5.ค่าทัศนาจร

6.ค่าโดยสารรถประจำทาง

7.ค่าประกันภัยในการเดินทาง

8.ค่าโดยสารรถไฟ

ประโยชน์ของการใช้บริการแทรเวล เอเจนซี่

1. แทรเวล เอเจนซี่มีความชำนาญในการหาข้อมูลและวางแผนการท่องเที่ยว

2. แทรเวล เอเจนซี่สามารถหาข้อเสนอหรือราคาที่ดีที่สุด

3. แทรเวล เอเจนซี่ช่วยประหยัดเวลาและความลำบาก

4. แทรเวล เอเจนซี่ช่วยแก้ปัญหาได้เมื่อเกิดข้อผิดพลาดหรือปัญหา

5. แทรเวล เอเจนซี่รู้จักผู้ประกอบธุรกิจมากกว่า

6. แทรเวล เอเจนซี่รู้จักแหล่งท่องเที่ยวดีกว่า

ประเภทของแทรเวล เอเจนซี่

แทรเวล เอเจนซี่จะมีลักษณะคล้ายกันคือมีขนาดเล็กและเป็นธุรกิจของครอบครัวและให้บริการแก่ลูกค้าที่อยู่ในลำเลใกล้เคียง โดยมักจะขายผลิตภัณฑ์และบริการท่องเที่ยวหลากหลายประเภท โดยอาจสรุปได้เป็น 4 ประเภท คือ

1.แบบที่มีมาแต่เดิม

2.แบบที่ขายทางอินเตอร์เน๊ต

3.แบบที่ชำนาญเฉพาะทาง

4.แบบที่ประกอบธุรกิจจากที่พัก

ประโยชน์ของการใช้บริการของบริษัททัวร์

1.ประหยัดเวลาค่าใช้จ่าย

2.ประหยัดค่าใช้จ่าย

3.ได้ความรู้

4.ได้เพื่อนใหม่

5.ได้ความสบายใจและรู้สึกปลอดภัย

6.ไม่มีทางเลือกอื่น

ประเภทของทัวร์ ทัวร์แบบเหมาจ่ายแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ 3 ประเภท

1.ทัวร์แบบอิสระ

2.ทัวร์แบบไม่มีผู้นำเที่ยว

3.ทัวร์แบบมีผู้นำ

นอกจากโปรแกรมทัวร์ 3 ประเภท ข้างต้นแล้วยังมีการจัดทัวร์แบบอื่นๆ เช่น

- การจัดทัศนาจร หมายถึงโปรแกรมที่พานักท่องเที่ยวเดินทางโดยใช้เวลาไม่ถึง 24 ชั่วโมง

- ทัวร์แบบผจญภัย เช่น การไปดำน้ำ การไปล่องแพ การไปเดินป่า เป็นต้น

บริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยว

การท่องเที่ยวแห่งประเทสไทยได้ให้คำจำกัดความ บริษัทที่ดำเนินจัดการเรื่องการขนส่งภาคพื้นดิน การจัดงานเลี้ยงโรงแรมและนำเที่ยวให้แก่กลุ่มท่องเที่ยวแบบที่ได้รับรางวัล

ขยายความได้ว่าบริษัทเหล่านี้มีความรู้ และมีความเชี่ยวชาญในการการบริการด้านต่างๆ ณ แหล่งท่องเที่ยว ได้แก่

-บริการในการจัดการขนส่งภาคพื้นดิน

-บริการจองห้องพัก

-บริการจัดงานเลี้ยงนอกสถานที่

-บริการจัดกิจกรรมพิเศษ

บริษัทรับจัดการประชุม มีบทบาทหน้าที่ดังนี้

-เลือกสถานที่สำหรับการประชุม

-จองห้องพัก

-จองห้องประชุมและอุปกรณ์สำหรับการประชุม

-ดำเนินการวางแผนด้านอาหารและเครื่องดื่ม

-วางแผนโปรแกรมสำหรับผู้เข้าประชุมของโรงแรมและสถานที่จัด

-ประสานงานกับวิทยากรหรือผู้รับเชิญ

-ดำเนินการวางแผนด้านการรักษาความปลอดภัยหรือแก้ไขวิกฤ๖

-บริการด้านการเดินทางและขนส่ง

-ประเมินผลงานเมื่อการประชุมสิ้นสุดลง

สรุป

การท่องเที่ยวแต่ละประเภทมีลักษณะเฉพาะของตนเองมีวัตถุประสงค์และบทบาทหน้าที่ต่างกันใน 3 ทศวรรษที่ผ่านมาธุรกิจบริษัทรับจัดการ ณ แหล่งท่องเที่ยวและบริษัทรับจัดการประชุมมีการเจริญเติบโตสูงมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากการขยายตัวทางการตลาดท่องเที่ยวโดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดธุรกิจ จึงมีการเดินทางเพื่อมาประชุม ร่วมนิทรรศการ และการเดินทางท่องเที่ยว

บทที่ 6 ที่พักแรม

บทที่ 6 ที่พักแรม

ความเป็นมา ธุรกิจที่พักแรมในสากล/ต่างประเทศ

ที่พักแรมมีมาตั้งแต่ยุคโบราณ ย้อนหลังไปถึงยุคอารยธรรมกรีกโรมัน เกิดขึ้นสนองความต้องการที่พักของนักเที่ยวที่ไม่สามรถไปกลับได้ในวันเดียว โดยเฉพาะในยุคจักรวรรดิโรมันรุ่งเรื่อง เพื่อรองรับผู้ที่เดินทางด้วยเหตุผลทางศาสนา การปกครอง การติดต่อการค้าและการพักผ่อน ปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลให้กิจการที่พักขยายตัวและมีการพัฒนาการในรูปแบบต่างๆ ได้แก่ การคมนานคมขนส่ง ซึ่งมีการปรับปรุงและพัฒนาไปตามยุคสมัยทำให้ผู้คนสามารถเดินทางได้สะดวกและรวดเร็วนับตั้งแต่การเดินทางโดยรถม้า ทำให้ธุรกิจที่พัก ขยายตัวตามเส้นทางและได้รับความนิยมในอังกฤษ โรงแรมเป็นปะรเภทธุรกิจที่พักแรมที่สำคัญในปัจจุบัน คำเรียกที่พักว่า hotel นี้เดิมมาจากภาษาฝรั่งเศษและปรากฏใช้เรียกธุรกิจประกอบการที่พักแรมในอังกฤษและอเมริกาในศตวรรษที่ 18 รูปแบบบริการในโรงแรมได้รับความนิยมมาแต่อดีตจนกลายเป็นลักษณะเฉพาะและเป็นที่รู้จักทั่วไปของนักท่องเที่ยว กลุ่มหรือเชนโรงแรมที่สำคัญ ได้แก่ intercontinental,Holiday Lnn,Marriott,Sofitel,Hilton,Conrad, Sheraton,Hyatt,LeMeriddenเป็นต้น

ธุรกิจที่พักแรมในประเทศไทย

ธุรกิจที่พักแรมสำหรับบริการนักเดินทางต่างชาติในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่บริเวณฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาในสมัยรัชกาลที่ 4 มีชาวตะวันตกเข้ามาจำนวนมาก มีการลงประกาศข่าวในหนังสือพิมพ์ยุคนั้นเกี่ยวกับธุรกิจที่พักแรมประเภทบอร์ดดิ้งเฮ้าส์ บริการแก่นักเดินทางชาวตะวันตก และแจ้งสถานที่ตั้งของที่พักประเภทโฮเต็ลคือ ยูเนียนโฮเต็ล ใน พ.ศ.2406 บนถนนเจริญกรุงตอนใต้

กิจการโฮเต็ล หรือโรงแรมที่สำคัญ ได้แก่

- โอเรียนเต็ลโฮเต็ล สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยกลาสีเรือชาวต่างชาติเป็นเพียงอาคารไม้ชั้นเดียวต่อมาได้มาการเปลี่ยนเปลง ปรุบปรุง ปัจจุบันจักเป็นโรงแรมสากลชั้นนำแห่งหนึ่ง

-โฮเต็ลหัวหิน หรือโรงแรมรถไฟหัวหินสร้างเสร็จในปี พ.ศ.2465 ในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยกลมรถไฟหลวงจัดให้บริการตามแบบกิจการโฮเต็ลในยุโรป มีความหรูหรา ใช้รับรองแขกเมืองและเป็นที่นิยมของชาวกรุงที่เดินทางไปพักผ่อนในสมัยนั้น

-โฮเต็ลวังพญาไทย เป็นโรงแรมหรูหราในรัชกาลที่ 7 โดยปรับปรุงจากพระราชวังพญาไทย ตามปรสงค์ของพระบามสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ใช้เป็นที่รับรองแขกเมือง ชาวต่างชาติ และเป็นที่จัดกิจกรรมสังสรรค์ของสังคมชาวกรุงในสมัยนั้น

-โรงแรมรัตนโกสินทร์ สร้างเทื่อ พ.ศ.2485 ในสมัยรัชกาลที่ 8 บนถนนราชดำเนินกลางใกล้สะพานผ่านพิภาพลีลา พร้อมกับโรงแรมสุนิยานนท์ (เลิกกิจการแล้ว)โดยสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์

ปัจจัยที่พื้นฐานในการบริการที่พักแรม

* ความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้พัก

* ความสะอาดและถูกสุขอนามัยในสถานที่พัก อาหาร-เครื่องดื่ม และบริการที่เกี่ยวข้องสำหรับ กิจการที่เสนอบริการระดับมาตรฐานที่ดี

* ความสะดวกสบายจากสิ่งอำนวยความสะดวกที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการของผู้พัก

* ความเป็นส่วนตัว

* บรรยากาศการตกแต่งที่สวยงาม

* ภาพลักษณ์ของกิจการ และอื่นๆ

ประเภทที่พักแรม

ที่พักแรมในปัจจุบันมีรูปแบบหลากหลายงึ่งยังคงเพิ่มปริมาณมากขึ้นในทุกปี ประเภทที่พักแรมสามารถจำแนกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆได้แก่ โรงแรม และที่พักนักท่องเที่ยว

1. โรงแรม เป็นที่พักแรมที่นิยมมากของนักท่องเที่ยว โรงแรมมมาตฐานสากลจะมีรูปแบบการดำเนินการบริการที่เป็นแบบแผน

1.1 เกณฑ์การจำแนกประเภทโรงแรม

โรงแรมที่มีอยู่มากมายทั่วโลกสามารถจำแนกประเภทโดยใช้เกณฑ์ด้านต่างๆ

* ด้านที่ตั่ง

* ด้านขนาด

* ด้านจุดประสงค์ของผู้มาพัก

* ด้านราคา

* ด้านระดับบริการ

* ด้านการจัดระดับมาตรฐานโดยใช้สัญลักษณ์

* ด้านความเป็นเจ้าของรูปแบบการบริหาร แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ๋ คือ

โรงแรมอิสระ เป็นโรงแรมที่เจ้าของดำเนินกิจการเอง ตามนโยบายและวิธีการที่กำหนดขึ้นเองอย่างอิสระ มีอำนาจในการบริหารโดยสมบูรณ์ทำให้คล่องตัวในการจัดการ กิจการส่วนใหญ่มีขนาดเล็กและขนาดกลางหลายแห่งมีลักษณะกิจการที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ในด้านการออกแบบและทำเลที่ตั่ง

โรงแรมจัดการแบบกลุ่ม/เครือ หรือ เชน หมายถึงโรงแรมที่อยู่ภาคใต้ การบริหารจัดการแบบกลุ่ม มักมีการใช้ชื่อประกอบการที่แสดงความเอ็นสมาชิคในกลุ่มเดียวกันโดยมีสำนักงานส่วนกลางควบคุมด้านนโยบาล การบริหารการจัดการของกลุ่มโรงแรมมาตรฐานสากลในปัจจุบันอาจเป็มได้ในหลายรูปแบบทั้งแบบทุนร่วมดำเนินการแบบแฟรนไชส์ ซึ่งเป็นข้อตกลงในการใช้สิทธฺดำเนินการภายใต้ชื่อประกอบการที่เป็นที่รู้จักและสิทธ์ใช้ระบบปฎิบัติงานของกลุ่มโรงแรม กลุ่มโรงแรมสำคัญของโลกในปัจจุบันหลายกลุ่มมีการขยายตัวเมจำนวนห้องพักในกลุ่มและเติบโตรวดเร็วในหลายภูมิภาค เพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน โดยมีโรงแรมที่เข้ากลุ่มเพิ่มเติมด้วยหลายวิธ๊ ทั้งจากการซื้อและควบรวมกิจการ และการทำสัญญารับจัดการหรือจ้างบริหาร

2.ที่พักนักท่องเที่ยว

* บ้านพักเยาวชน หรือ โฮสเทล

* ที่พักพร้อมอาหารเช้าราคาประหยัด

* ที่พักริมทางหลวง

* ที่พักแบบจัดสรรหาเวลาพัก หรือไทม์แซริ่ง

* เกสต์เฮ้าส์

* อาหารชุดบริการที่พักระยะยาว หรือ เซอร์วิสอพาร์ตเมนต์

* ที่พักกลางแจ้ง

* โฮมสเตย์

แผนกงานในโรงแรม

โรงแรมมีแบบแผนการดำเนินการที่เป็นรูปแบบเฉพาะ แบ่งเป็นแผนกงานสำคัญ ดังนี้

* แผนกงานส่วนหน้า

* แผนกงานแม่บ้าน

* แผนกอาหารและเครื่องดื่ม

* แผนกขายและการตลาด

* แผนกบัญชีและการเงิน

* แผนกทรัพยากรและมนุษย์

ประเภทห้องพัก

- Single ห้องพักสำหรับนอนคนเดียว ในต่างประเทศจะเป็นห้องพักเตียงเดียว

- Twin ห้องพักเตียงคู่แฝด ประกอบเตียงเดี่ยว 2 เตียงตั้งเป็นคู่วางแยกกัน

- Double ห้องพักเตียงคู่ที่เป็นเตียงเดียวขนาดใหญ่ สำหรับนอนได้ 2 คน บางครั้ง ให้บริการแก่ผู้ที่มาพักคนเดียวเพื่อความสะดวกสบาย

- Suite ห้องชุดที่ภายในประกอบด้วยห้องตั้งแต่ 2 ห้องขึ้นไปโดยกั้นเป็นสัดส่วนแบ่งเป็นห้องนอนและห้องนั่งเล่น ในโรงแรมมาตรฐานดีตามแบบสากลมักมีห้องตกแต่งที่สวยงาม บริการในอัตราสูง

บทที่ 5 การคมนาคมขนส่ง

บทที่ 5 การคมนาคมขนส่ง


การคมนาคมขนส่ง หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายคน สัตว์ สิ่งของ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง โดยอาศัยสื่อกลางต่างๆ ภายใต้ และราคาที่ได้ตกลงกันไว้ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือการ คมนาคมขนส่ง

ความเป็นมา

ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการขนส่งถือว่าเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว ทำให้เกิดความสำคัญจ่อการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่ห่างออกไป เนื่องจากความรวดเร็ว สะดวกสบายที่นักท่องเที่ยวได้รับจากการใช้บริการยานพหะต่างๆที่ได้มีการพัฒนาจนเจริญก้านหน้าทันสมัยขึ้นตามลำดับ ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง ทางบก ทางน้ำ หรือทางกากาศ

พัฒนาการขนส่งทางบก

ประวัติการขนส่งทางบก เริ่มขึ้นในสมัย 200 ปีก่อคริสตกาล หรือยุคบาบิลอน ซึ่งใช้คนลากรถสองล้อไปบนถนน ก่อนที่จะนำสัตว์ เช่น วัว ลา มาช่วยในการลากรถสองล้อในยุกต์อิยิปต์และกรีก ในช่วงต้นศตวรรษที่ 18 ได้มีการประดิษฐ์เครื่องจักรไอน้ำ ขึ้นเพื่อช่วยพัฒนาการขนส่งทางเรือและรถไฟส่งผลให้ผู้คนเดินทางเป็นจำนวนมาก เนื่องจากรถไฟเป็นยานพาหนะที่มีความปลอดภัย สะดวกและรวดเร็ว ความนิยมในรถม้าโดยสารลงเรื่อยๆและหันมาใช้บริการรถไฟ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อได้มีการเปิดบริการรถไฟไอน้ำขึ้นในประเทศอังกฤษขบวนแรกขึ้นในปี ค.ศ.1825 (พ.ศ.2368) ต่อมาความนิยมเดินทางโดยรถไฟได้น้อยลง เนื่องจากได้มีการประดิษฐ์คิดค้นรถยนต์ขึ้นในปี ค.ศ.1920 (พ.ศ.2463)ทำให้รถยนต์กลายมาเป็นพาหนะสำคัญแทนที่รถไฟได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

พัฒนาการขนส่งทางน้ำ

การขนส่งผู้โดยสารทางเรือเริ่มขึ้นเมื่อ ค.ศ.1722(พ.ศ.2315)หลังจากนั้นในปี ค.ศ.(พ.ศ.2358)ได้มีบริการท่องเที่ยวเรื่อสำราญอังกฤษชื่อ ซีลอน ของบริษัท Peninsula Oriental Steam วิ่งในเส้นทางในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และเมืองท่าในอิตาลี กรีซ อียิบต์ และอาฟริกาตะวันตก เป็นที่น่าสังเกตุว่าการให้บริการบนเรือ Ceylon เป็นไปอย่างเรียบง่าย ต่อมามีการต่อเรือสำราญที่สมบูรณ์แบบ ขนาดกว้างชื่อ Princesses Vicyoria Louis ในปี ค.ศ.1900 (พ.ศ.2443)ถึงแม้จะมีระวางขับน้ำเพียง 4000 ตัน และมีความยาวเพียง 400 ฟุต แต่เนื่องจากมีขนาดกระทัดรัด ทำให้เรือสามารถแล่นผ่านช่องแคบไปได้อย่างดี

พัฒนาขนส่งทางอากาศ

หลังจากปี ค.ศ.1903 (พ.ศ.2446)ซึ่งเป็นปีที่สองพี่น้องตระกลู Wright ได้คิดค้นและประดิษฐ์เครื่องบินเป็นครั้งแรก ก็ได้มีความพยายามพัฒนารูปแบบและเครื่องยนต์ให้ดีขึ้นเรื่อยๆ ดังจะเห็นได้จากได้มีการผลิตเครื่องบินออกมาใช้ในสมัยสงครามโลกครั้งที่1 และในปี ค.ศ.1919 (พ.ศ.2462)เที่ยวบินในธุรกิจครั้งแรกก็บังเกิดขึ้นระหว่าง London และ Paris เมื่อประสบความสำเร็จจึงทำให้หลายๆประเทศในยุโรปเล็งเห็นความสำคัญของการบินขึ้นต่างก็ได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินอย่างเต็มที่แก่ประเทศของตน ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เครื่องบินได้ถูกดัดแปลงให้เปแนพาหนะของทหาร และได้เร่งพัฒนาขีดความสามารถของเครื่องยนต์ให้มีขนาดใหญ๋ขึ้น และมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น หลังจากสงครามโลกครั้งที่2 ยุติลง แต่ละประเทศได้เร่งแข่งขันกันที่จะนำเครื่องบินที่ได้รับการปรับปรุงและพัฒนาแล้วมาใช้ในเชิงพาณิชย์มากขึ้น โดยเริ่มจากการใช้เครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์ไอพ่นใบพัด จบวจนในปีต่อมา ค.ศ.1939 (พ.ศ.2502)บริษัทผลิตเครื่องบินโบอิ้งของสหรัฐอเมริกาได้ผลิตเครื่องบินโบอิ้ง 707 ในฐานะที่เครื่องบินโดยสารไอพ่นรุ่นแรกขึ้น ซึ่งได้รับการพัฒนามาเป็นเครื่องบิน Jambo ไอพ่นขนาดใหญ่ในปี ค.ศ.1970 (พ.ศ.2503) ที่บรรทุกผู้โดยสารได้ 500 คนในแต่ละเที่ยวบินและบินได้ไกลถึง 7,000 ไมค์ จาก Newyork ถึง Tokyo โดยไม่ต้องแวะเติมเชื้อเพลิงเลย ในประเทศไทยนั้นในปี พ.ศ. 2462 ทางกรมอากาศยานทหารบกได้เริ่มกิจการขนส่งทางอากาศขึ้นระหว่าง กรุงเทพ-จันทบุรี เพื่อรับส่งผู้โดยสาร ขึ้นเป็นครั้งแรโดยดัดแปลงเครื่องบินตรวจการและทิ้งระเบิด เบรเกต์ ต่อมาในปี พ.ศ.2473 ได้จัดตรั้งบริษัทเดินอากาศจำกัก โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 (ค.ศ.1939-1945)หรือระหว่างพ.ศ.2482-2488บริษัทต้องประหยัดค่าใช้จ่าย จึงต้องระงับการให้บริการบางสาย และต่อมาได้ยุบกิจการจนหลังจากสงครามโลกครั้งที่ยุติลงแล้ว รัฐบาลไทยในสัมยนั้นจึงได้ริเริ่มดำเนินการเอง โดยใช้ชื่อว่า บริษัทเดินอากาศ(บ.ด.อ.)โดยให้บริการขนส่งทางอากาศภายในประเทศ ในปีพ.ศ.2544 รัฐบาลเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีบทบาทในธุรกิจการบินภายในประเทศ เช่น แอรอันดามัน ภูเก๊ตแอร์ และโอเรียนแอร์ และบางกอกแอร์เวย์ อยู่ในธุรกิจมานานก็ได้ขยายเส้นทางบินเพิ่มมากขึ้น

ประเภทของธุรกิจการคมนาคมขนส่งเพื่อการท่องเที่ยว

ธุรกิจการคมนาคมขนส่งการท่องเที่ยว สามารถแยกออกได้เป็น ประเภทเช่นกัน ได้แก่ ธุรกิจขนส่งทางบก ธุรกิจขนส่งทางน้ำและธุรกิจขนส่งทางอากาศ

1. ธุรกิจการขนส่งทางบก

การคมนาคมขนส่งทางบกจัดว่าเป็นรูปแบบการเดินทางที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะการเดินทางโดยรถยนต์ เนื่องจากความคล่องตัว และประหยัด นอกจากรถยนต์แล้ว ยังมีการเดินทางโดยรถไฟที่เป็นรูปแบบการเดินทางอีกประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมพอสมควร

การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถไฟ ในประเทศไทยนั้นการเดินทางท่องเที่ยวทางรถไฟยังไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากนัก เนื่องจากเปรียบเทียบกับรถยนต์แล้วมีราคาค่อนข้างแพง ใช้เวลานานและไม่ค่อยสะดวก นอกจากนี้การบริการแคณภาพของรถไฟก็จำเป็นที่จะต้องได้รับการปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพและทันสมัยขึ้นอีก ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับรถไฟในประเทศที่เจริญแล้วอื่นๆนับว่ายังล้าหลังมาก

การเดินทางท่องเที่ยวโดยรถยนต์ส่วนบุคคล การเดินทางท่องเที่ยวทางรถยนต์ได้รับความนิยมมมากจวบจนกระทั้งปัจจุบันนี้เนื่องจากเหตุผลหลักๆ ต่อไปนี้ เช่น ความประหยัด สะดวก รวดเร็วและคล่องตัว ประกอบกับการที่มีการตัดถนนเชื่อมโยงระหว่างเมืองและจังหวัดต่างๆ นอกจากนี้การที่รถยนต์ราคาถูกลงและมีจำนวนผู้เป็นเจ้าของรถยนต์มากขึ้นกว่าแต่ก่อนทำให้การเดินทางโดยรถส่วนตัวรวมทั้งรถโดยสารทั้งประจำทางและไม่ประจำทางมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นการเดินทางท่องเที่ยวโดยรถเช่า การเดินทางท่องเที่ยวทางถนนนอกจากจะเกี่ยวข้องกับรถยนต์ส่วนบุคคลและยังครอบคลุมถึงการเดินทางท่องเที่ยวโดยรถเช่าและรถตู้เพื่อนันทนาการธุรกิจการเช่ารถ เกิดขึ้นเพื่อให้บริการแก่นักท่องเที่ยวที่ชอบเดินทางโดยรถยนต์ และนักธุรกิจที่เดินทางไปเจรจาธูรกิจ ในประเทศอังกฤษร้อยละ 30-40 ของรถเช่านำไปใช้เพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อนที่เหลือเป็นการเช่ารถเดินทางเพื่อธุรกิจ ในประเทศสหรัฐอเมริกานักธุรกิจเช่ารถ ประมาณร้อยละ 75 และคิดว่าตลาดเช่ารถสำหรับนักท่องเที่ยวจะขยายขึ้นอีก ธุรกิจรถเช่าเจริญเติบโตมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปอเมริกาและยุโรปเป็นขนาดใหญ่รถตู้เพื่อนันทนาการ ในปัจจุบันรถตู้เพื่อนันทนาการนับเป็นยานพาหนะที่สำคัญอีกประเภทหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนิยมใช้เดินทาง โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาและยุโรปเนื่องจากตัวรถได้รับการออกแบบให้มีลักษณะเหมือนบ้านเคลื่อนที่จึงทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวเพราะสามารถเตรียมอาหารมารับประทานเองและพักค้างคืนในรถได้ และยังทำให้เกิดความรู้สึกพักผ่อนหรือผ่อนคลายจากชีวิตประจำวันที่อาจรู้สึกจำเจในบางครั้งรถโดยสารเพื่อการเดินทางท่องเที่ยว รถโดยสารมีประวัติความเป็นมายาวนานตั้งแต่สมัยรถม้าโดยสาร และปรับปรุงเป็นรถโดยสารที่ใช้เครื่องยนต์หลังจากมีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องยนต์ขึ้นใช้ ในปัจจุบันรถโดยสารเป็นยานพาหนะที่มีราคาถูกที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการเดินทางรถยนต์และรถไฟในระยะทางที่เท่ากัน แต่มีข้อจำกัดในความเร็ว ยกเว้นรถโดยสารในยุโรปที่เดินทางได้เร็วกว่าและมีราคาแพงกว่ารถไฟ เช่น รถโดยสารของประเทศโปรตุเกส กรีซ สเปน และตุรกี เป็นต้น

รถโดยสารสามารถแบ่งออกได้เป็น2ประเภทคือ1.รถโดยสารประจำทาง 2.รถโดยสารไม่ประจำทางหรือรถเช่าเหมา

2.ธุรกิจการขนส่งทางน้ำ

ประวัติศาสตร์ได้แสดงให้เห็นอบ่างชัดเจนว่า เรือถูกใช้เป็นพาหนะการเดินทางสำรวจดินแดงเพื่อการค้าขายมานานก่าพันปี นอกจากนี้เรือยังถูกใช้เป็นพาหนะคมนาคมขนส่งระหว่างเมืองท่าต่างๆ ใน ค.ศ. 1383(พ.ศ.2318) แซมมวล คิวนาร์ด เจ้าของบิรษัทเดินเรือได้ริเริ่มเส้นทางเดินเรือกลไฟประจำทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติระหว่างเมืองลิเวอร์พูลกับฮาลิแฟกซ์ ต่อมามีบริษัทเดินเรืออื่นๆ เกิดขึ้นเพื่อเดินเรือข้ามมหาสมุทรหลายรูปแบบ เช่น บริษัทพีแอนโอ ซึ่งมีชื่อเสียงมานานจนปัจจุบัน บริษัทแคนนาเดียแปซิฟก และบริษัทฮอลแลนด์ อเมริกัน เป็นต้น ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีขนส่งทางอากาศและค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นทำให้การท่องเที่ยวเรือเดินข้ามทะเลมหาสมุทรลดน้อยลง แต่ธุรกิจเดินเรือสำราญเติบโตขึ้น ซึ่งผลสำเร็จดังกล่าวอาจเป็นผลมาจากความร่วมมมือกันระหว่างบริษัทขนส่งทางเรือกับบริษัทการบิน โดยเกิดการท่องเที่ยวในแนวใหม่ คือ บินล่องเรือ (Fly-cruise package)

การเดินทางท่องเที่ยวทางน้ำแบ่งออกเป็นหลายประเภทดังนี้

2.1 เรือเดินทะเล (Ocean-lines)

2.2 เรือสำราญ (cruise Ships/lines)

2.3 เรือข้ามฟาก (ferry)

2.4 เรือใบและเรือยอร์ช (Sail cruise and yachy)

2.5 เรือบรรทุกสินค้า (cargo lines)

3.ธุรกิจการขนส่งทางอากาศ

สงครามโลกครั้งที่ 2 ก่อให้เกิดผลดีในระยะยาวต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจการบินพาณิชย์ เช่น เทคโนโลยีการบินด้านความเร็ว ประสิทธฺภาพของเชื้อเพลิงที่คิดค้นขึ้นในช่วงสงคราม การพัฒนาลำตัวเครื่องบินให้กล้างขึ้น ความรู้ทางอากาศ และการปรับปรุงแผนที่อากาศ การฝึกฝนนักบินโดยใช้เครื่องบินที่เหลือใช้จากสงครามจำนวนมาก ตลอดจนการพัฒนาเครื่องบินไอพ่น ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการขนส่งผู้โดยสารทางอากาศเป็นอย่างดี อุตสาหกรรมการบินพาณิชย์ได้ก้าวหน้าอีกครั้งหนึ่งในทศวรรษ 1970 เมื่อมีการผลิตเครื่องบินขนาดใหญ่รุ่นลำตัวกล้าง เช่น บริษัทดักลาส ผลิตเครื่องบิน D-10 บริษัทโบอิ้งผลิตเครื่องบิน Boeing 747และ LOck HeedTristar 1011

โดยเน้นความสะดวกสบายของผู้โดยสารแต่ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของเครื่องบินเหล่านี้คือการเดินทางระยะไกลที่ประหยัดขึ้น โดยปรับปรุงเครื่องยนต์และลดน้ำหนักของเครื่องบิน เช่น เครื่องบินโบอิ้ง 757 หรือการพยายามสร้างเครื่องบินที่เงียบเสียงกว่าเดิม รวมทั้งความพยายามลดค่าใช้จ่ายจากสภาพการแข่งขันที่มีสายการบินจำนวนมากเช่นในปัจจุบัน เครื่องบินได้รับความนิยมสูงในปัจจุบันได้แก่ เครื่องบินโบอิ้ง เครื่องบินแอร์บัส และเครื่องบินดีซี 10 เนื่องจากสามารถบรรจุผู้โดยสารจำนวนมาก แต่กินน้ำมันน้อย

การเดินทางท่องเที่ยวทางอากาศ แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ

3.1 การบินลักษณะเที่ยวบินประจำ เป็นการบินระหว่างเมืองต่อเมืองโดยมีตารางบินที่แน่นอน การ บินประเภทนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อยคือ

3.1.1 เที่ยวบินภายในประเทศ

3.1.2 เที่ยวบินระหว่างประจำประเทศ

3.2 การบินนลักษณะเที่ยวบินไม่ประจำ เป็นการบินเสริมตาราง และสามารถแวะรับบส่งผู้โดยสารทั่วไปโดยไม่ต้องเป็นกลุ่มเดิมได้จึงได้รับความนิยมในช่วงฤดูกาลท่องเที่ยว

3.3 การบินลักษณะเที่ยวบินเช่าเหมาลำ เป็นการบินที่ให้บริการแก่กลุ่มสมาชิกสมาคมหรือองค์กร หรือกลุ่มนักท่องเที่ยว รับ-ส่งผู้โดยสารเฉพาะกลุ่มได้เท่านั้นราคาโดยสารถูกกว่าราคาเที่ยวบินของสายการบินปกติทำให้เป็นที่นิยมในหมู่นักท่องเที่ยว